วัดบ่อพลอย ต.บ่อพลอย อ.บ่อไร่ จ.ตราด 23140

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปีใหม่

พ.ศ.๒๕๕๕ กำลังจะผ่านพ้นไปในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ แล้วปีใหม่ พ.ศ.๒๕๕๖ ก็จะเข้ามา ปี พ.ศ.๒๕๕๕ ที่ผ่านมาหนึ่งปี เราลองถามตัวเองดูว่า เรา...ทำอะไร...ที่มีประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่นหรือไม่ เพียงใด เมื่อได้คำตอบแล้ว เราจะรู้ว่า ๓๖๕ วันที่ผ่านมาแล้วนั้น สิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดีต่างๆที่เราได้กระทำลงไป ทั้งทางกาย วาจา และใจ เราภูมิใจในสิ่งที่เราทำลงไปหรือไม่ มีสิ่งไดที่สมควรจะปรับปรุงแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเปล่า
ฉะนั้น...ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่วันนี้ ก็ขอให้ทุกๆท่าน ปฏิบัติตนให้เหมาะสมแก่กาล ทั้งกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ตลอดทุกเวลา ตามรู้อิริยาบทตนเองทุกลมหายใจเข้าออก ขอให้มีความสุขตลอดปี และตลอดไป เทอญ...สาธุ...

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

รวมภาพงานบุญ ตักบาตรเทโว ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕


ตักบาตรเทโว

ช่วงเช้า ประชาชนในเขตเทศบาลบ่อพลอยและเขตใกล้เคียง ได้พร้อมใจมาร่วมตักบาตรข้าวสาร อาการแห้ง มากันทั้งครอบครัว ลูกเด็กเล็กแดงผู้เฒ่าผู้แก่ ทั้งที่วิ่งกันมา , ค่อยๆเดินกันมา , และเดิน 3 ขามาและที่เดินไม่ได้ ลูกๆหลายๆก็พากันอู้มมา ก็มีมากันอย่างพร้อมเพรียง ช่วงเช้าอากาศดีมา แสงแดดอ่อนๆ พอเสร็จพิธีเท่านั้น ( เวลาตอนนี้ 10.25 น. ) ฝนตก...
เทวดาฟ้าดินพร้อมใจกันร่วมอนุโมทนา...สาธุ...

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประวัติ ประเพณี และการตักบาตรเทโว

ประวัติประเพณีตักบาตรเทโว

วันตักบาตรเทโวหมายถึง วันทำบุญตักบาตรในเทศกาลวันออกพรรษา ตามความเชื่อของพุทธศาสนิชน ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์หลังจากเทศนาอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดา
เทโว ย่อมาจากคำว่า เทโวโรหนะ ซึ่งแปลว่า การหยั่งลงจาก เทวโลก หมายถึง การเสด็จลงจากเทวโลกของพระพุทธเจ้า ตามตำนาน กล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงเทศนาโปรดประชาชนในแคว้นต่าง ๆ ของอินเดียตอนเหนือ ตั้งแต่ เมืองราชคฤห์ เมืองพาราณสี เมืองสาวัตถี ตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นบิตุภูมิของพระองค์ ทรงเทศนาโปรดพระประยูรญาติทั้งหลายถ้วนหน้า แล้วทรงปรารถนาจะสนองพระคุณมารดา ซึ่งหลังประสูติพระองค์ ได้ ๗ วัน ก็สิ้นพระขนม์ และได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ฉะนั้นในพรรษาที่ ๗ หลังจากตรัสรู้พระพุทธองค์จึงเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาอยู่พรรษาหนึ่ง ถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงเสด็จลงจาก สวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับที่เมืองสังกัสสะประชาชนพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น
การตักบาตรเทโวนี้ บางวัดทำในวันออกพรรษา คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดก็ทำในวันรุ่งขึ้น คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ทั้งนี้ แล้วแต่ความตกลงร่วมใจทั้งทางวัดและทางบ้าน พิธีที่ทำนั้นทางวัดอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในบุษบก ซึ่งตั้ง อยู่บนล้อเลื่อนหรือคานหาม มีบาตรขนาดใหญ่ใบหนึ่งตั้งไว้หน้าพระพุทธรูป มีคน ลากล้อเลื่อนไปช้า ๆ นำหน้าพระสงฆ์ สามเณร ซึ่งถือบาตรเดินเรียงไปตามลำดับ พุทธศาสนิกชนต่างก็นำข้าว อาหารหวานคาว มาเรียงรายกันอยู่เป็นแถวตามแนวทางที่รถบุษบกเคลื่อนผ่าน คอยตักบาตร อาหารที่นิยมตักในวันนั้น นอกจากข้าวและอาหารคาวหวาน ธรรมดาแล้วก็จะมีข้าวต้มลูกโยนด้วย ซึ่งบางท่านสันนิษฐานว่าในครั้งนั้นผู้คนรอใส่บาตรกันแออัดมาก เข้าไม่ถึงพระ จึงใช้ข้าวก่อ หรือปั้นโยนลงบาตร
ประเพณีการตักบาตรเทโวนี้ เนื่องมาจากการเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อมีเหตุการณ์อะไรปรากฏในตำนาน ก็จะปรารภเหตุนั้นๆ เพื่อบำเพ็ญบุญกุศลเช่นการถวายทาน รักษาศีล เป็นต้น ตักบาตรเทโวจึงเป็นการทำบุญอย่างมโหฬารของพุทธศาสนิกชน นับแต่นั้นมา
ด้วยเหตุนี้จึงถือว่า วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกลงมาสู่เมืองมนุษย์ บรรดาพุทธศาสนิกชนจึงนิยมตักบาตรกันเป็นพิเศษ เป็นประเพณีสำคัญสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ เรียกว่า "ตักบาตรเทโว" โดยพระสงฆ์จำนวนมาก นำโดยพระพุทธรูปปางเสด็จจากดาวดึงส์ เดินลงบันไดจากมณฑปพระพุทธบาท ลงมารับบิณฑบาตรข้าวสารอาหารแห้งจากพุทธศาสนิกชน
ความสำคัญ
      งานตักบาตรเทโวเป็นงานที่ช่วยสร้างความสมัครสมานสามัคคี ให้แก่หมู่ชนและชาวบ้านที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ที่ใกล้วัดนั้นๆเป็นอย่างมาก เป็นเครื่องควบคุมสังคมให้ ละ ลด เลิกอบายมุข หันหน้าเข้าวัดเพื่อทำบุญ จึงมีส่วนช่วยให้สังคมเกิดสันติสุขเป็นอย่างดี  

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ที่ระลึกในงานบำเพ็ญพระกุศล วันคล้ายวันประสูติเจริญพระชันษา ๙๙ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วันพุธที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

ที่ระลึกในงานบำเพ็ญพระกุศล วันคล้ายวันประสูติเจริญพระชันษา ๙๙ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วันพุธที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕ ( อีกซักชุด )

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรม

กิจกรรมต่างๆ เริ่มต้นตั้งแต่สวดมนต์ข้ามปี จนถึงเดือนนี้ ตุลาคม ๒๕๕๕ และยังมีอีกหลายกิจกรรม ที่จะตามมาอีกกว่าจะถึงสิ้นปี ในวันที่ ๑๑ พ.ย. ๒๕๕๕ นี้จะมีงานบุญกฐินที่วัด สาธุชนท่านใดอยากร่วมบุญก็ให้ติดต่อกับหลวงพ่อได้โดยตรงที่วัด หรือฝ่านทาง WEBSIDE นี้ก็ได้ แล้วแต่สะดวก ... เจริญพร ...

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ที่ระลึก

ที่ระลึกในงานบำเพ็ญพระกุศล คล้ายวันประสูติ เจริญพระชันษา ๙๙ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วันพุธที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕


















 

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

รูปชุดใหม่

รูปนี้ อาตมาเพิ่งได้รับมาสดๆร้อนๆเมื่อสักครู่นี้เอง
พระครูพิพัฒน์รัตนากร เข้าเฝ้าท่านสมเด็จพระสังราช สกลมหาสังฆปริณายก

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พระประวัติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุวัฑฒนมหาเถระ เจริญ คชวัตร)


พระประวัติ
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
(สุวัฑฒนมหาเถระ เจริญ คชวัตร)

     วันที่ ๓ ตุลาคม เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของปวงพุทธศาสนิกชนชาวไทย เป็นวันคล้ายวันประสูติของเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์พระประมุขแห่งสังฆมณฑลและปวงพุทธศาสนิกบริษัทของไทย เมื่อวาระดิถีเช่นนี้เวียนมาถึง จึงเป็นที่ปลื้มปีติและเป็นโอกาสที่ปวงพุทธศาสนิกชนจะได้ถวายมุทิตาสักการะ และถวายพระกุศล ถวายพระพร เพื่อความเป็นสิริมงคลตามประเพณีนิยม

     เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุวัฑฒนมหาเถระ) มีพระนามเดิมว่า เจริญ นามสกุล คชวัตร ทรงมีพระชาติภูมิ ณ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ณ วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี แล้วเข้ามาอยู่ศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จนพระชนมายุครบอุปสมบท และทรงอุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๗๖ โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวง  วชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ประทับอยู่ศึกษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดมาจนกระทั่งสอบได้เป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๘๔ 

      เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ทรงดำรงสมณศักดิ์มาโดยลำดับดังนี้ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ พระราชาคณะชั้นราช และพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระโศภณคณาภรณ์ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวราภรณ์ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร และทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช ในราชทินนามที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๒ นับเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ทรงเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ทรงมีพระอัธยาศัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนมาตั้งแต่ทรงเป็นพระเปรียญ โดยเฉพาะในด้านภาษา ทรงศึกษาภาษาต่าง ๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และ สันสกฤต จนสามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี กระทั่งเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระอุปัชฌาย์ของพระองค์ทรงเห็นว่า จะเพลินในการศึกษามากไป วันหนึ่งทรงเตือนว่า ควรทำกรรมฐานเสียบ้าง เป็นเหตุให้พระองค์ทรงเริ่มทำกรรมฐานมาแต่บัดนั้น และทำตลอดมาอย่างต่อเนื่อง จึงทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงภูมิธรรมทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติ 

     เนื่องจากทรงรอบรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี จึงทรงศึกษาหาความรู้สมัยใหม่ด้วยการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ ทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม เป็นเหตุให้ทรงมีทัศนะกว้างขวาง ทันต่อเหตุการณ์บ้านเมือง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสั่งสอนและเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้ทรงนิพนธ์หนังสือทางพระพุทธศาสนาได้อย่างสมสมัย เหมาะแก่บุคคลและสถานการณ์ในยุคปัจจุบัน และทรงสั่งสอนพระพุทธศาสนาทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ

    ในด้านการศึกษา ได้ทรงมีพระดำริทางการศึกษาที่กว้างไกล ทรงมีส่วนร่วมในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งแรกของไทย คือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมาแต่ต้น ทรงริเริ่มให้มีสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อฝึกอบรมพระธรรมทูตไทยที่จะไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ


    ทรงเป็นพระมหาเถระไทยรูปแรกที่ได้ดำเนินงานพระธรรมทูตในต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยเริ่มจากทรงเป็นประธานกรรมการอำนวยการสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศเป็นรูปแรก เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ในพิธีเปิดวัดไทยแห่งแรกในทวีปยุโรป คือวัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ทรงนำพระพุทธศาสนาเถรวาทไปสู่ทวีปออสเตรเลียเป็นครั้งแรก โดยการสร้างวัดพุทธรังษีขึ้น ณ นครซิดนีย์ ทรงให้กำเนิดคณะสงฆ์เถรวาทขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย ทรงช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศเนปาล โดยเสด็จไปให้การบรรพชาแก่ศากยะกุลบุตรในประเทศเนปาลเป็นครั้งแรก ทำให้ประเพณีการบวชฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเนปาลยุคปัจจุบัน ทรงเจริญศาสนไมตรีกับองค์ทะไล ลามะ กระทั่งเป็นที่ทรงคุ้นเคยและได้วิสาสะกันหลายครั้ง และทรงเป็นพระประมุขแห่งศาสนจักรพระองค์แรกที่ได้รับทูลเชิญให้เสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการในประวัติศาสตร์จีน

     เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเป็นเอนกประการ ทรงเป็นนักวิชาการและนักวิเคราะห์ธรรมตามหลักการของพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า ธัมมวิจยะ หรือธัมมวิจัย เพื่อแสดงให้เห็นว่า พุทธธรรมนั้นสามารถประยุกต์ใช้กับกิจกรรมของชีวิตได้ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับสูงสุด ทรงมีผลงานด้านพระนิพนธ์ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษจำนวนกว่า ๑๐๐ เรื่อง ประกอบด้วยพระนิพนธ์แสดงคำสอนทางพระพุทธศาสนาทั้งระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง รวมถึงความเรียงเชิงศาสนคดีอีกจำนวนมาก ซึ่งล้วนมีคุณค่าควรแก่การศึกษา สถาบันการศึกษาของชาติหลายแห่งตระหนักถึงพระปรีชาสามารถและคุณค่าแห่งงานพระนิพนธ์ ตลอดถึงพระกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติ จึงได้ทูลถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์เป็นการเทิดพระเกียรติหลายสาขา

      นอกจากพระกรณียกิจตามหน้าที่ตำแหน่งแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ยังได้ทรงปฏิบัติหน้าที่พิเศษ อันมีความสำคัญยิ่งอีกหลายวาระ กล่าวคือ ทรงเป็นพระอภิบาลในพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เมื่อครั้งเสด็จออกทรงพระผนวช เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๙ พร้อมทั้งทรงถวายความรู้ในพระธรรมวินัยตลอดระยะเวลาแห่งการทรงพระผนวช ทรงเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อครั้งเสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อพุทธศักราช  ๒๕๒๑

       เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ทรงดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญทางการคณะสงฆ์ในด้านต่าง ๆ มาเป็นลำดับ เป็นเหตุให้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเป็นประโยชน์ต่อพระศาสนา ประเทศชาติ และประชาชน เป็นเอนกประการ นับได้ว่าทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงเพียบพร้อมด้วยอัตตสมบัติและปรหิตปฏิบัติ และทรงเป็นครุฐานียบุคคลของชาติ ทั้งในด้านพุทธจักรและอาณาจักร

       เนื่องในวโรกาสคล้ายวันประสูติ ครบ ๘ รอบ ๙๙ ปี  ในวันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕ นี้ ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย น้อมเกล้า ฯ ถวายพระกุศลถวายพระพร  ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและพระกุศลบารมีที่ได้ทรงบำเพ็ญมาแล้ว จงอำนวยให้ทรงมีพระสุขพลานามัยสมบูรณ์ ทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน  เสด็จสถิตเป็นสิริมิ่งมงคลแก่ปวงพุทธบริษัทและปวงชนทั่วไป ตลอดกาลนานเทอญ ฯ

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปลงผม ก่อนเป็นนาค











ชมกันเรื่อยๆกับภาพ ณ.เวลาปลงผม







บรรยากาศ










บรรยากาศงานบวช ยังมีอีกมากมายหลายภาพ ไว้จะทะยอยนำมาลงให้ชม

รูปงานบวช ประจำปี 2555

รูปถ่ายในงานพิธีอุปสมบทหมู่ประจำปี 2555 มีมากมายหลายร้อยรูป อีกทั้งวีดีโอ มีเวลาแล้วจะค่อยๆนำลงมาให้ชม

วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บรรยากาสช่วงเช้า

มีสายฝนบางๆเป็นม่าน เพิ่มความชุ่มฉ่ำในยามเช้า

พิธีอุปสมบทประจำปี

ท่านพระครูพิพัฒน์รัตนากร อนุเคราะห์แก่ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาที่จะอุปสมบท งานนี้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และปีนี้ก็เริ่มแล้ว

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บวชพระหมู่ประจำปี

วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน 2555 ที่จะถึงนี้ ท่านพระครูพิพัฒน์รัตนากร ได้เมตตาจัดพิธีอุปสมบทหมู่ประจำปี 2555 ขึ้น ที่วัดบ่อพลอย ต.บ่อพลอย อ.บ่อไร่ จ.ตราด สาธุชนท่านได ใคร่ที่จะให้บุตรหลานได้บวชเข้าในโครงการนี้ ก็สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานวัดบ่อพลอย หรือที่ท่านพระครูพิพัฒน์รัตนากร ได้โดยตรง ในงานนี้ มีลิเกเด็กมาแสดงอีกเช่นเคย และงานนี้หลวงพ่อท่านฝากมาบอกอีกด้วยว่า ...บวชฟรี...

อบรมพระวิปัสนาจารย์

วันนี้อาตมา มาอยู่ที่วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เพื่อเข้ารับการอบรมพระวิปัสนาจารย์รุ่นกลางปี เดินทางออกมาจาก อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เมื่อเวลาประมาณ 17.30 น.ของวันที่ 13 พฤษภาคม 2555 มาถึงหมอชิด 2 เวลา ตี 1 กว่าๆ รอรถตู้เพื่อเดินทางไปต่อที่ จ.ราชบุรี สรุปแล้วถึงวัดหลวงพ่อสดเวลาประมาณ 11.00 น.ของวันที่ 14 พฤษภาคม 2555
วันที่ 15 พฤษภาคม 2555 พักผ่อน 1 วัน วันที่ 16 พฤษภาคม 2555  ช่วงเช้าได้ลงทะเบียนเพื่อเข้าอบรม โดยมีพระที่เดินทางมาจากหลายจังหวัด เพื่อจุดประสงค์เดียวกัน

วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เดินทาง

เตรียมสัมภาระเรียบร้อย เช้านี้จะเดินทางไปเริ่มต้นที่พระประแดง แล้วต่อมาที่บางบ่อ ต่อไปที่ระยอง จะไปสิ้นสุดที่บุรีรัมย์ เป็นการเดินทางไปเยี่ยมญาติโยมอีกครั้ง

วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

สุขสันต์วันสงกรานต์

สวัสดีปีใหม่ พี่น้องชาวไทยและพุทธสาสนิกชนทุกท่าน วันนี้เป็นวันเริ่มต้นศักราชใหม่ของเรา ชาวไทย ซึ่งวันนี้ในอดีต ชาวไทยเราถือเป็นทั้งวันปีใหม่ และวันสงกรานต์ จะเป็นวันที่รวมญาติพี่น้อง ลูกหลาน วงศ์สาคณาญาติ ทุกผู้ทุกคน กลับมาเยี่ยมบ้านเกิด ถิ่นกำเนิด เยี่ยมพ่อแม่ ฯลฯ ก็ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบันดาลให้ท่านและครอบครัว จงมีแต่ความร่มเย็น เป็นสุข ดั่งสายน้ำคลายร้อนในวันนี้ ทุกผู้ ทุกคน เทอญฯ สาธุ...

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

ผ้าป่า วัดบ่อพลอย

ทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมเป็นไป เปลี่ยนไป ดั่งสัจจะธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า  เกิดขึ้น , ตั้งอยู่ , ดับไป และก็เช่นเดียวกันกับเรื่องดังต่อไปนี้ :- สำนักงานวัดบ่อพลอย สร้างมาหลายปี ปัจจุบันหลังคาก็ชำรุดไปตามกาลเวลา และก็ได้เปลี่ยนไปบ้างแล้ว อุปกรณ์ต่างๆภายในสำนักงาน ก็แปลสภาพไปตามกาลเวลาเช่นเดียวกัน ทั้ง โต๊ะ , เก้าอี้ , แม้แต่ชั้นเก็บเอกสาร หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ก็ชำรุดไป ก็ต้องซ่อมแซมให้สิ่งต่างๆที่หมดสภาพ ให้กลับมาพร้อมใช้งาน บางส่วนก็ไม่ต้องจ่าย เพราะมีเจ้าภาพช่วยออกค่าใช้จ่ายให้ เช่นหลังคาสำนักงาน รองไตรรงค์ ได้พาลูกน้องมาช่วยเปลี่ยนให้ ส่วนที่ต้องจัดหาปัจจัยเตรียมเอาไว้เลยก็มีหลายส่วนด้วยเช่นกัน จึงจัดทำผ้าป่าขึ้นมา เพื่อกาลนี้...