วัดบ่อพลอย ต.บ่อพลอย อ.บ่อไร่ จ.ตราด 23140

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

३ ตุลาคม 2554

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
พระนามเมื่อแรกประสูติ เจริญ คชวัตร

เกิด 3 ตุลาคม พ.ศ. 2456
อุปสมบท พ.ศ. 2476
พรรษา 77
อายุ 98
วัด วัดบวรนิเวศวิหาร
จังหวัด กรุงเทพมหานคร
สังกัด ธรรยุติกนิกาย
วุฒิการศึกษา น.ธ.เอก,ป.ธ.๙
ตำแหน่งทางคณะสงฆ์ สกลมหาสังฆปริณายก

พระฉายา สุวฑฺฒโน
พระนามโดยย่อ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)
พระนามตามสุพรรณบัฏ สมเด็จพระญาณสังวร บรมนริศรธรรมนีติภิบาล อริยวงศาคตญาณวิมล สกลมหาสังฆปริณายก ตรีปิฎกปริยัตติธาดา วิสุทธจริยาธิสมบัติ สุวัฑฒนภิธานสงฆวิสุต ปาวจนุตตมพิสาร สุขุมธรรมวิธานธำรง วชิรญาณวงศวิวัฒ พุทธบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ วิบุลสีลาจารวัตรสุนทร บวรธรรมบพิตร สรรพคณิศรมหาปธานาธิบดี คามวาสี อรัณยวาสี สมเด็จพระสังฆราช

พระประวัติ บรรพชาและอุปสมบทพระองค์ได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2469 ขณะอายุได้ 14 ปี ภายหลังบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่ วัดเทวสังฆาราม 1 พรรษา จากนั้นได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม กระทั่งอายุครบอุปสมบท จึงได้เดินทางกลับไปอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามเมื่อพ.ศ. 2476 ภายหลังจึงได้เดินทางเข้ามาจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยต่อไป และที่วัดบวรนิเวศวิหารนี่เอง พระองค์ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทซ้ำเป็นธรรมยุติกนิกาย โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์เป็นพระอุปัชฌาย์ ด้านการศึกษา ทรงสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ในปีพ.ศ. 2484

การดำรงตำแหน่งพระอภิบาล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงฉายภาพหมู่ร่วมกับคณะพระภิกษุสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อคราวทรงผนวชท่านได้ทรงอุทิศตนเพื่องาน พระศาสนาโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ทรงรับเป็นองค์แสดงธรรมยังสถานที่ต่าง ๆ หลายแห่ง นอกจากนั้นยังได้ทรงนิพนธ์ ผลงานทางวิชาการ เอกสาร และตำราด้านพุทธศาสนา ซึ่งล้วนแต่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งไว้มากมาย พ.ศ. 2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเลือกให้เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในระหว่างที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่าง วันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ทำสมาธิแบบง่ายๆ

ใช้เวลาเพียง 1 นาทีต่อครั้ง ให้จิตอยู่กับลมหายใจเข้า ออก ลมหายใจเข้า ก็กำหนดจิตตามรับรู้ว่าลมเข้า ลมหายใจออก ก็กำหนดจิตตามรับรู้ว่าลมออก เพียงเท่านี้ ค่อยเป็นค่อยไป เพียงครั้งละ 1 นาที หรือมากกว่านั้น ...เท่านี้...ก็ขึ้นชื่อว่าเราทำสมาธิแล้ว คุณเองก็สามารถทำได้...