วัดบ่อพลอย ต.บ่อพลอย อ.บ่อไร่ จ.ตราด 23140

วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วันอาสาฬหบูชา


วันอาสาฬหบูชา  เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย คำว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนมิถุนายนหรือเดือนกรกฎาคม แต่ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 8 หลังแทน

วันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรกเป็นปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์

การแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้พราหมณ์โกณฑัญญะ 1 ใน 5 ปัญจวัคคีย์ เกิดความเลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรมหรือบรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน ท่านจึงขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา พระอัญญาโกณฑัญญะจึงกลายเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก และด้วยเหตุที่ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล (อนุพุทธะ) เป็นคนแรก จึงทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม" หรือ วันพระธรรมจักร อันได้แก่วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก และ "วันพระสงฆ์" คือวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปีใหม่

พ.ศ.๒๕๕๕ กำลังจะผ่านพ้นไปในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ แล้วปีใหม่ พ.ศ.๒๕๕๖ ก็จะเข้ามา ปี พ.ศ.๒๕๕๕ ที่ผ่านมาหนึ่งปี เราลองถามตัวเองดูว่า เรา...ทำอะไร...ที่มีประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่นหรือไม่ เพียงใด เมื่อได้คำตอบแล้ว เราจะรู้ว่า ๓๖๕ วันที่ผ่านมาแล้วนั้น สิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดีต่างๆที่เราได้กระทำลงไป ทั้งทางกาย วาจา และใจ เราภูมิใจในสิ่งที่เราทำลงไปหรือไม่ มีสิ่งไดที่สมควรจะปรับปรุงแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเปล่า
ฉะนั้น...ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่วันนี้ ก็ขอให้ทุกๆท่าน ปฏิบัติตนให้เหมาะสมแก่กาล ทั้งกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ตลอดทุกเวลา ตามรู้อิริยาบทตนเองทุกลมหายใจเข้าออก ขอให้มีความสุขตลอดปี และตลอดไป เทอญ...สาธุ...

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

รวมภาพงานบุญ ตักบาตรเทโว ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕


ตักบาตรเทโว

ช่วงเช้า ประชาชนในเขตเทศบาลบ่อพลอยและเขตใกล้เคียง ได้พร้อมใจมาร่วมตักบาตรข้าวสาร อาการแห้ง มากันทั้งครอบครัว ลูกเด็กเล็กแดงผู้เฒ่าผู้แก่ ทั้งที่วิ่งกันมา , ค่อยๆเดินกันมา , และเดิน 3 ขามาและที่เดินไม่ได้ ลูกๆหลายๆก็พากันอู้มมา ก็มีมากันอย่างพร้อมเพรียง ช่วงเช้าอากาศดีมา แสงแดดอ่อนๆ พอเสร็จพิธีเท่านั้น ( เวลาตอนนี้ 10.25 น. ) ฝนตก...
เทวดาฟ้าดินพร้อมใจกันร่วมอนุโมทนา...สาธุ...

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประวัติ ประเพณี และการตักบาตรเทโว

ประวัติประเพณีตักบาตรเทโว

วันตักบาตรเทโวหมายถึง วันทำบุญตักบาตรในเทศกาลวันออกพรรษา ตามความเชื่อของพุทธศาสนิชน ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์หลังจากเทศนาอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดา
เทโว ย่อมาจากคำว่า เทโวโรหนะ ซึ่งแปลว่า การหยั่งลงจาก เทวโลก หมายถึง การเสด็จลงจากเทวโลกของพระพุทธเจ้า ตามตำนาน กล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงเทศนาโปรดประชาชนในแคว้นต่าง ๆ ของอินเดียตอนเหนือ ตั้งแต่ เมืองราชคฤห์ เมืองพาราณสี เมืองสาวัตถี ตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นบิตุภูมิของพระองค์ ทรงเทศนาโปรดพระประยูรญาติทั้งหลายถ้วนหน้า แล้วทรงปรารถนาจะสนองพระคุณมารดา ซึ่งหลังประสูติพระองค์ ได้ ๗ วัน ก็สิ้นพระขนม์ และได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ฉะนั้นในพรรษาที่ ๗ หลังจากตรัสรู้พระพุทธองค์จึงเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาอยู่พรรษาหนึ่ง ถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงเสด็จลงจาก สวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับที่เมืองสังกัสสะประชาชนพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น
การตักบาตรเทโวนี้ บางวัดทำในวันออกพรรษา คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดก็ทำในวันรุ่งขึ้น คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ทั้งนี้ แล้วแต่ความตกลงร่วมใจทั้งทางวัดและทางบ้าน พิธีที่ทำนั้นทางวัดอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในบุษบก ซึ่งตั้ง อยู่บนล้อเลื่อนหรือคานหาม มีบาตรขนาดใหญ่ใบหนึ่งตั้งไว้หน้าพระพุทธรูป มีคน ลากล้อเลื่อนไปช้า ๆ นำหน้าพระสงฆ์ สามเณร ซึ่งถือบาตรเดินเรียงไปตามลำดับ พุทธศาสนิกชนต่างก็นำข้าว อาหารหวานคาว มาเรียงรายกันอยู่เป็นแถวตามแนวทางที่รถบุษบกเคลื่อนผ่าน คอยตักบาตร อาหารที่นิยมตักในวันนั้น นอกจากข้าวและอาหารคาวหวาน ธรรมดาแล้วก็จะมีข้าวต้มลูกโยนด้วย ซึ่งบางท่านสันนิษฐานว่าในครั้งนั้นผู้คนรอใส่บาตรกันแออัดมาก เข้าไม่ถึงพระ จึงใช้ข้าวก่อ หรือปั้นโยนลงบาตร
ประเพณีการตักบาตรเทโวนี้ เนื่องมาจากการเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อมีเหตุการณ์อะไรปรากฏในตำนาน ก็จะปรารภเหตุนั้นๆ เพื่อบำเพ็ญบุญกุศลเช่นการถวายทาน รักษาศีล เป็นต้น ตักบาตรเทโวจึงเป็นการทำบุญอย่างมโหฬารของพุทธศาสนิกชน นับแต่นั้นมา
ด้วยเหตุนี้จึงถือว่า วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกลงมาสู่เมืองมนุษย์ บรรดาพุทธศาสนิกชนจึงนิยมตักบาตรกันเป็นพิเศษ เป็นประเพณีสำคัญสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ เรียกว่า "ตักบาตรเทโว" โดยพระสงฆ์จำนวนมาก นำโดยพระพุทธรูปปางเสด็จจากดาวดึงส์ เดินลงบันไดจากมณฑปพระพุทธบาท ลงมารับบิณฑบาตรข้าวสารอาหารแห้งจากพุทธศาสนิกชน
ความสำคัญ
      งานตักบาตรเทโวเป็นงานที่ช่วยสร้างความสมัครสมานสามัคคี ให้แก่หมู่ชนและชาวบ้านที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ที่ใกล้วัดนั้นๆเป็นอย่างมาก เป็นเครื่องควบคุมสังคมให้ ละ ลด เลิกอบายมุข หันหน้าเข้าวัดเพื่อทำบุญ จึงมีส่วนช่วยให้สังคมเกิดสันติสุขเป็นอย่างดี  

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ที่ระลึกในงานบำเพ็ญพระกุศล วันคล้ายวันประสูติเจริญพระชันษา ๙๙ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วันพุธที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

ที่ระลึกในงานบำเพ็ญพระกุศล วันคล้ายวันประสูติเจริญพระชันษา ๙๙ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วันพุธที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕ ( อีกซักชุด )